TH
- TH -
6.2 การใช้เลื่อยวงเดือน
•
ปรับความลึกคลองเลื่อย มุมตัด และรั้วกั้นแนวขนาน
ให้ได้ขนาดเหมาะสม (ดูข้อ 5.1, 5.2 และ 5.4)
•
ดูจนแน่ได้ใจว่า สวิตช์ เปิด/ปิด (2) ไม่ถูกกดลงไป
จากนั้นจึงค่อยเสียบปลั๊กไฟลงในเต้าเสียบที่เหมาะสม
•
เปิดสวิตช์เลื่อยวงเดือน ต่อเมื่อใส่ใบเลื่อยเข้าที่ไว้
เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
•
วางฐานเลื่อยให้แนบราบบนชิ้นงานที่จะเลื่อย อย่าให้
ใบเลื่อยสัมผัสกับชิ้นงาน
•
จากนั้น จับเครื่องเลื่อยวงเดือนด้วยมือทั้งสองข้าง
6.3 เปิด/ปิด เครื่อง (ภาพ 9)
เปิดเครื่อง:
กด ปุ่มล็อก (3) และ สวิตช์ เปิด/ปิด (2) ลงไปพร้อมกัน
•
ปล่อยให้ใบเลื่อยเริ่มหมุน จนกระทั่งถึงระดับความเร็ว
สูงสุด แล้วจึงค่อยๆ เคลื่อนใบเลื่อยไปตามเส้นตัด
อย่างช้าๆ ออกแรงดันใบเลื่อยเพียงเบาๆ เท่านั้น
ปิดเครื่อง:
ปล่อย ปุ่มล็อก และ สวิตช์ เปิด/ปิด
•
เมื่อปล่อยด้ามจับ เครื่องจะปิดลงเองโดยอัตโนมัติ
เพื่อไม่ให้เครื่องเปิดทํางานโดยไม่ตั้งใจได้
•
คอยระวังดูว่าระหว่างการทํางาน ช่องระบายอากาศ
ไม่ถูกปิดคลุมไว้ หรืออุดตัน
•
หลังจากที่ปิดสวิตช์แล้ว อย่าหยุดใบเลื่อยด้วยการกด
ลงไปทางด้านข้าง
•
ระวัง! วางเครื่องลง ต่อเมื่อใบเลื่อยหยุดนิ่งแล้วเท่านั้น
ระวัง! ทดลองการเลื่อยตัดกับเศษไม้ก่อน
6.4 การเปลี่ยนใบเลื่อย (ภาพ 10/11)
ดึงปลั๊กเสียบไฟออกเสมอ ก่อนที่จะทํางานทุก
อย่างกับตัวเลื่อยวงเดือน!
ใช้แต่ใบเลื่อยที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน EN 847-1 และ
ประเภทเดียวกับใบเลื่อยที่จัดส่งมาพร้อมกับเลื่อยวงเดือน
แบบมือถือนี้เท่านั้น เชิญติดต่อขอคําปรึกษาได้ที่ร้าน
จําหน่ายผลิตภัณฑ์สาขานี้
•
ดัน ฝาครอบป้องกันแบบแกว่งที่เคลื่อนไหวได้ (19)
ด้วย ก้านสําหรับฝาครอบป้องกันแบบแกว่ง (15) ไป
ทางด้านหลัง และจับไว้ให้อยู่กับที่
•
ใช้ ประแจสําหรับใบเลื่อย (13) จับต้านไว้ที่ หน้า
แปลน (18)
•
คลาย สลักเกลียวสําหรับยึดตรึงใบเลื่อย (17) ด้วย
กุญแจหกเหลี่ยม (a)
•
ถอด หน้าแปลน (18) และ ใบเลื่อย (12) ลงทางด้าน
ล่าง
•
ทําความสะอาดหน้าแปลน ใส่ใบเลื่อยใบใหม่ลงไป
คอยระวังดูทิศทางการหมุน (ดู ลูกศรบนฝาครอบ
ป้องกัน และบนใบเลื่อย)!
•
ขัน สลักเกลียวสําหรับยึดตรึงใบเลื่อย (17) คอยระวัง
ดูให้ใบเลื่อยหมุนได้ถูกต้องไม่ติดขัด
•
ก่อนที่จะกดสวิตช์ เปิด/ปิด ขอให้ตรวจดูจนแน่ใจได้
ว่าประกอบติดตั้งใบเลื่อยเข้าไปอย่างถูกต้อง ชิ้นส่วน
ที่เคลื่อนไหวได้ทํางานอย่างราบรื่น และสลักเกลียว
สําหรับยึดตรึงทุกตัวขันปิดลงให้แน่นแล้ว
7. การเปลี่ยนสายไฟใหม่
อันตราย!
ถ้าสายไฟสําหรับเครื่องนี้ชํารุดเสียหาย จะต้องให้ผู้ผลิต
หรือบริการหลังขายของผู้ผลิต หรือบุคคลที่มีคุณสมบัติ
เทียบเท่ากันเป็นผู้เปลี่ยนให้ใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด
อันตราย
8. การทําความสะอาด การบํารุงรักษา
และการสั่งอะไหล่ชิ้นส่วน
อันตราย!
ดึงปลั๊กไฟออกจากแหล่งจ่ายไฟเสมอ ก่อนที่จะเริ่มทํา
ความสะอาด
8.1 การทําความสะอาด
•
รักษาอุปกรณ์ป้องกันทั้งหมด ช่องระบายอากาศ และ
ตัวเรือนเครื่องยนต์ให้ปราศจากสิ่งสกปรกและฝุ่น
ละอองให้มากที่สุดเท่าที่ทําได้ เช็ดอุปกรณ์ด้วยผ้า
สะอาด หรือเป่าด้วยลมแรงดันระดับต่ํา
•
ขอแนะนําให้ทําความสะอาดเครื่องทันทีหลังการใช้
ทุกครั้ง
•
ทําความสะอาดเครื่องอุปกรณ์เป็นประจําด้วยผ้าชื้น
หมาดๆ และสบู่เหลวเล็กน้อย อย่าใช้สารทําความ
สะอาดหรือสารทําละลาย เพราะจะกัดชิ้นส่วนที่ทํา
จากพลาสติกของเครื่องได้ ดูให้แน่ใจว่าไม่มีน้ําไหล
เข้าภายในเครื่องได้ น้ําที่ไหลซึมเข้าเครื่องมือไฟฟ้า
ได้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกไฟดูด
8.2 แปรงถ่าน
ในกรณีที่เกิดลูกไฟออกมามากเกินขนาด ให้ช่างไฟฟ้า
ชํานาญการตรวจสอบแปรงถ่านให้
อันตราย! จะต้องให้ช่างไฟฟ้าชํานาญการเป็นผู้เปลี่ยน
แปรงถ่านให้เท่านั้น
8.3 การบํารุงรักษา
ไม่มีชิ้นส่วนอื่นใดอีกในเครื่องที่จําเป็นต้องได้รับการบํารุง
รักษา
Anl_TC_CS_1400_EX_TH_SPK7.indb 19Anl_TC_CS_1400_EX_TH_SPK7.indb 19 20.12.2017 14:17:3920.12.2017 14:17:39